วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความขัดแย้งระหว่างประเทศและความร่วมมือแก้ปัญหา



ความขัดแย้งระหว่างประเทศ


สงครามและความขัดแย้งไม่มีวันหมดไปจากโลก สงครามมีอยู่คู่กับสันติภาพเสมอ แล้วแต่ว่าห้วงใดจะเป็นระยะเวลายาวนานกว่ากันเท่านั้น ในเวทีโลกปัจจุบันซึ่งเป็นห้วงหลังยุคสงครามเย็นและเป็นช่วงต้นของศตวรรษที่๒๑ เราสามารถมองภาพปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่มีผลกระทบในเวทีโลกออกเป็น ๕ ลักษณะ โดยจะยกตัวอย่างเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ดังนี้


๑. ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ใช้อาวุธ ได้แก่ ปัญหาอิสราเอล - ปาเลสไตน์, อินเดีย - ปากีสถาน (แคว้นจัมมะ - แคชเชียร์) เกาหลีเหนือ - เกาหลีใต้ (การปะทะกันด้วยอาวุธขนาดเล็กตามชายแดนทางบกและน่านน้ำ รวมทั้งการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ)


๒. ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ไม่ใช้อาวุธ ได้แก่ปัญหาจีน - ญี่ปุ่น (เศรษฐกิจ - ประวัติศาสตร์), รัสเซีย - ญี่ปุ่น (หมู่เกาะคูริ้น, ปัญหาหมู่เกาะแปรทลี้)


๓. ความขัดแย้งที่ต่างประเทศเข้าไปแทรกแซงประเทศอื่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และโตแทรกแซงอัฟกานิสถาน, สหรัฐอเมริกาแทรกแซงอิรัก


๔. ความขัดแย้งภายในประเทศ ได้แก่ จีน (ปัญหาไต้หวัน, ทิเบต, แคว้นซิเกี่ยง), รัสเซีย (ปัญหาเชเนีย - กบฏเชเชน), ศรีลังกา (กบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม) พม่า (พรรค NLP - อองซานซูจี)


๕. ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับองค์กรที่มิใช่รัฐบาล ได้แก่ กลุ่มการเมืองข้ามชาตินอกระบบการเมืองโดยอ้างว่าเป็นขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ แต่เป็นกลุ่มก่อการร้ายได้แก่ เครือข่ายอัลกออิดะห์ - เจไอ ที่เคลื่อนไหวใน อิรัก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศนั้นดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของการใช้กำลังทางทหารแต่แท้ที่จริงแล้วปัญหาความมั่นคงในปัจจุบันเป็นปัญหาความมั่นคงใหม่ที่ซับซ้อนกว่าเดิม มองผิวเผินเหมือนเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่มีผลกระทบเป็นอย่างมาก เนื่องจากกรอบปัญหาความมั่นคงเปลี่ยนไป เพราะโลกเป็นระบบโลกาภิวัตน์ ระบบการสื่อสารสมัยใหม่ได้นำพาความขัดแย้งภายในและภายนอกประเทศเข้าผสมผสานกันจนเกิดผลกระทบซึ่งกันและกันโดยที่เส้นพรมแดนของรัฐไม่สามารถสกัดกั้นได้


ความร่วมมือในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ


เป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่2 และสงครามเย็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดสงครามและก่อให้เกิดสันติภาพในโลกอีกด้วยจึงเกิด


องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการประสานประโยชน์และความร่วมมือกันในด้านต่างๆ
องค์กรระหว่างประเทศ คือการรวมกลุ่มของรัฐต่างๆ ที่มีอำนาจอธิปไตยเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน และมีบทบาอย่างสูงในด้านสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการทหาร องค์การระหว่างประเทศแบ่งออกได้ดังนี้
1.องค์การระดับประเทศในโลก
2.องค์การระดับประเทศที่เป็น
องค์การระหว่างประเทศ


ความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ


องค์การระหว่างประเทศเป็นปรากฏการณ์ของระบบที่รัฐหลายรัฐอยู่ร่วมกัน จุดม่งหมายขององค์การระหว่างประเทศจะก่อตั้งนมจกเงื่อนไข ดังนี้คือ 1.โลกจะต้องประกอบไปด้วยรัฐจำนวนหนึ่งของรัฐเล่านี้จะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองอิสระ


2.รัฐเหล่านี้จะตองมีการตดต่อสัมพันธ์กัน


3.รัฐเหลานี้จะต้องตระหนักถึงปัญหาหันเกิดจากการขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ


4.รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบันและวิธีการเป็นที่เป็นระบบสร้างกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน


จะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศก็คือ การมีรัฐหลายรัฐที่แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกันได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างองค์การขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันหากฎถือว่าองค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะเหตุแล้วก็อาจกล่าวได้ว่า ความคิดเกี่ยวกับการมีสถาบันระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้ว คือเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์แสวงหาสันติภาพระหว่างดินแดนที่ตนแบ่งกนครอบครอง


องค์การระหว่างประเทศเป็นที่ที่ตัวทนของรัฐมาประชุมพบปะกนเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่างที่แตกต่างกันไป สถาบันระหว่างประเทศเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อมีครองเกรสแห่งเวียนนา(Congress of Vienna) ในปีค.ศ.1815 ซึ่งเป็นการะชุมระดับสูงในด้านการเมืองระหว่างประเทศของประมุขประเทศต่างๆในยุโรปภายหลังสงครามโปเลียนนับเริ่มจุดเริ่มต้นของระบบที่เรียกว่า "ระบบความร่วมมือ ( The Concert System ) การทำสัญญาสัมพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ ( Holy Allance ) และสัญญาพันธมิตรทั้ง 4 ฝ่าย ( Quadruple Alliance ) จากนั้นก็จัดการประชุมเป็นระยะๆ ที่เรียกว่า " ความร่วมมือแห่งยุโรป " ( Conert of Europe ) เพื่อเป็นที่พบปะของมหาอำนาจ ที่พยายามยกตนขึ้นมาละชี้นำกิจกรรมต่างๆ ในยุโรป
ในคริสศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีความคิดริเริ่มให้มีการจัดตั้ง สันนิบาตแห่งชาติ ( League of Nations) ขึ้น การเจรจาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ประเทศที่มีส่วนร่วมในการเจรจาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีถาบันระหว่างประเทศขึ้นมารักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ
การริเริ่มให้มีการจัดตั้งสันนิบาตอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ.1919 เมื่อมีการประชุมสันนิบาตที่กรุงปารีส ( Paris Peace conferrence ) โดยได้มีการตกลงให้กติกาของสันนิบาตเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสงบศึกษา แวร์ซายส์ ( Treaty of Versaills ) แต่สันนิบาตยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นทางการจนกระทั่งสนธิสัญญาแวร์ซายส์ได้รับการรับรองสัตยาบันในค.ศ.1920
สันติบาตรชาติได้มีมีการจัดตั้งองค์การ คล้ายคลึงกับองค์การระหว่างประเทศไทยในยุคก่อน คือ มีการประชุมของสมาชิกทุกประเทศ คือสมัชชา และที่ประชุมสมาชิกที่มีจำนวนจำกัดโดยได้รับเลือกเข้ามา หรือมีสมาชิกภาพถาวร คือ คณะมนตรี รวมทั้งการจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศขึ้นโดยให้มีผู้พิพากษาพิจารณาคดีไปตามตัวบทกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ประจำคือ เลขาธิการ ของสถาบันซึ่งทำหน้าที่บริหารงานประจำวันของสถาบันมีการตกลงกันในเรื่องค่าใช่จ่ายของสถาบันว่าเป็นหน้าที่สมาชิกที่จะบริจาคร่วมกัน แต่สันนิบาตชาติมีจุดอ่อนคือ สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย หรือการลงมติของสันนิบาตชาติต้องการคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ก็ดี ทำให้สันนิบาตชาติไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้องสลายตัวไปโดยปริยายเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ในระหว่างที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังดำเนินการอยู่ ก็ได้มีความพยายามก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นใหม่ คือ องค์การสหประชาชาติ (United Nation Organization ) สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสันนิบาตชาติ นอกจากแสวงหาสันติภาพไม่ให้เกิดสงครามขึ้นแล้ว องค์การสหประชาชาติยังเน้นการยกระดับพลโลกในด้านสานเศรษฐกิจและสังคม เพราะเชื่อว่าหากพลโลกมีความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ อีกมากมายที่มีบทบาทในสังคมโลก เช่น องค์การนานาชาติสหรัฐอเมริกา สันนิบาตอาหรับ สมาคมอาเซียน องค์การนาโต้ เป็นต้น สถาบันเหล่านี้ถูกจัดตั้งขึ้นขึ้นเป็นอิสระจากองค์การสหประชาชาติ คือไม่ขัดแย้งกับกฎขององค์การสหประชาชาติ
บทบาทองค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง
1.การยุติข้อพิพาทด้วยสันติวิธี เช่น วิธีทางการทูต การไกล่เกลี่ย การจัดเจรจาประนีประนอม เป็นต้น
2.การรักษาสันติภาพและความมั่นคงโดยวิธีการ “ รักษาความมั่นคงร่วมกัน “ ( Collective Security ) อาจทำได้โดยการใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง หากใช้กำลังจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะมนตรีความมั่นคงก่อน นอกจากนี้ยังมีการใช้กองกำลังชนิดหนึ่งที่เรียกว่ากองกำลังรักษาสันติภาพ คือให้กองกำลังของประชาชาติเข้าไปทำหน้าที่ในบริเวณที่มีข้อพิพาท เพื่อว่าคู่กรณีจะได้หันมาเจรจาตกลงกันได้
3.การสร้างความมั่นคงโดยการการควบคุมอาวุธและลดกำลังอาวุธ เช่น การลงนามห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ( Nuclear Test Ban Treaty )
4.การส่งเสริมหลักการกำหนดด้วยตนเอง ( Self Determaintion ) โดยองค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับการปลดปล่อย เพื่อนำไปสู่การปกครองตนเอง
5.เข้ามามีบทบาทก่อให้เกิดความบรูณาการเมือง โดยสนันสนุนให้มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างนานาชาติ เพื่อไม่ให้ใช้ความรุนแรงในการยุติข้อขัดแย้ง
บทบาทองค์การระหว่างประเทศระหว่างเศรษฐกิจ
1.ส่งเสริมการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
2.การประสานนโยบายกับประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน
3.การสร้างเสถียรภาพทางเงินตรา
ขั้นตอนการบรูณาการทางด้านเศรษฐกิจ แบ่งได้ 5 ขั้นตอน คือ
1.เขตการค้าเสรี เพื่อลดหรือยกเลิก การควบคุมทางการค้า แก่ประเทศสมาชิก
2.สหภาพศุลกากร เป็นการปรับปรุงภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้เหมือนกัน
3.ตลาดร่วม ยกเลิกข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก
4.สหภาพเศรษฐกิจ ประเทศสมาชิกปรับนโยบายเศรษฐกิจภายในของตนให้เหมือนกัน
5.สหภาพเหนือชาติ รัฐบาลของประเทศที่มาร่วมกันยอมสละอำนาจอธิปไตยของงานให้สหภาพเหนือเป็นผู้กำหนดนโยบายแทน
บทบาทองค์การระหว่างประเทศด้านสังคม
1.วางมาตรฐาน การปฏิบัติของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในรัฐ เรื่องสิทธิมนุษย์ชน และเรื่องแรงงาน


2.การวางระเบียบกฏเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศขึ้นเพื่อให้สามารถเพื่อให้ติดต่อกันอย่างสะดวกราบรื่น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเช่น สหภาพมากยิ่งขึ้นเช่น สหภาพไปรษณีย์สากล เป็นต้น
3.การให้บริการทางด้านต่างๆ เช่นการให้ข่าวสาร การบรรเทาทุกข์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า องค์การระหว่างประเทศ เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐเพราะรัฐเป็นผู้สร้างสถาบันระหว่างประเทศขึ้นมา รัฐย่อมต้องการใช้องค์กรระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ของตน แต่ละองค์กรระหว่างประเทศยังเป็นตัวควบคุมพฤติกรรรมของรัฐได้โดยเมื่อมีข้อขัดแย้งและวิกฤตการณ์ระหว่างรัฐเกิดขึ้น รัฐต้องยอมรับในกฎบัตรขององค์การระหว่างประเทศและคำตัดสินของศาลที่ประเทศคู่กรณียอมรับ
นับได้ว่าองค์การระหว่างประเทศเป็นเป็นตัวแสดงในเวทีระหว่างประเทศที่เป็นคู่เอกเทศเพราะมิฉะนั้นองค์กรระหว่างประเทศอาจสร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ด้วยตนเอง
จากสภาพการเมืองภายหลังสงครามเย็นทำให้การร่วมกลุ่มประเทศในภูมิภาคของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเคยร่วมมือกันในองค์การทางทหาร ก็เปลี่ยนมาเป็นความร่วมมือและจัดตั้งองค์กรเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ในภูมิภาคของตนเอง
การรวมตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นทุกภูมิภาคและขยายวงกว้างอันเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นของโลกของการขยายตัวการแข่งขันบนพื้นโลกไร้พรมแดนซึ่งไม่มีความตึงเครียดทางการเมืองเป็นตัวกำหนดโลกของการแข่งขัน การร่วมมือในทางธรุกิจและเศรษฐกิจ การร่วมทางเศรษฐกิจจึงเป็นสัญลักษณ์โลกยุคใหม่ที่เราเรียกว่า ยุคหลังสงครามเย็นเป็นโลกยุคใหม่ที่จัดลำดับความเป็นระเบียบโลก โดยมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็น องค์ประกอบของสิ่งที่เราเรียกว่า ระเบียบโลกใหม่ ( New World Order) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 หลักคือ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษย์ชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการค้าเสรี
ในยุคโลกกาภิวัตน์ (Globalization ) กระแสการแข่งขันด้านการค้าโลกได้เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ประเทศที่มีความสามารถทางธรุกิจจะได้เปรียบเหนือต่างชาติ ดังนั้น ภายหลังสงครามเย็นผ่านพ้นไปสงครามทางเศรษฐกิจได้เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มตน





สันนิบาตชาติ ( League of Nations )
สันนิบาตชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นตามสนธิสัญญาสันติภาพต่างๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสนธิสัญญาทุกฉบับจะกำหนดให้มีสันนิบาตชาติขึ้น โดยในส่วนแรกของสนธิสัญญาจะเป็นกติกาสันนิบาตชาติซึ่งมี 26 มาตรา ซึ่งหมายความว่า ทั้งประเทศที่ชนะและแพ้สงคราม เมื่อยอมรับสนธิสัญญาสันติภาพแล้ว ก็เป็นอันว่ายอมรับให้มีองค์การสันนิบาตชาติแล้ว อาจกล่าวได้ว่า สันนิบาตชาติเป็นแนวคิดต้องการสันติภาพในการอยู่ร่วมกันของมวลมนุษย์ เพื่อขจัดความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดสงครามขึ้นมาอีก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกาได้ร่างหลักการไว้14ข้อไว้เพื่อให้เป็นหลักในการเกิดสันติภาพของโลก ในข้อสุดท้ายของหลักการนี้ได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์การต่างๆ ขึ้น เพื่อให้ทุกชาติได้ร่วมมือกันผดุงไว้ซึ่งสันติภาพอันถาวร
จุดมุ่งหมายของสันนิบาตชาติ มีดังนี้
1.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยกันอย่างฉันมิตร
2.เพื่อปฎิบัติตามหน้าที่ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
3.เพื่อก่อให้เกิดสันติภาพถาวร
4.เพื่อป้องกันมิให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ
สถานภาพของสมาชิก
สันนิบาตชาติได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1920 โดยทีที่ทำการถาวรที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมาชิกแรกเริ่มและรัฐที่ได้รับเชิญให้ยอมรับกติกาสัญญา ซึ่งมีในรายชื่อสมาชิกภาคผนวกของกติกาสัญญารัฐ มี 44 รัฐ ต่อมาได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสิ้นสุดงานสันนิบาตชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 มีสมาชิกทั้งสิ้น 63 รัฐ ในจำนวนนี้มีรัฐเอกราชดินแดนในอาณัติ และประเทศอาณานิคม การเปิดรับสมาชิกเป็นไปอย่างกว้างขว้างและยึดถือหลักความสมัครใจของแต่ละรัฐ รัฐที่เข้าเป็นสมาชิกจะถูกนำเรื่องเข้าพิจารณาในสมัชชาของสันนิบาตชาติ ถ้าได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดและรัฐนั้นให้หลักประกันตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งยอมรับกฎข้อบังคับของสันนิบาตชาติที่กำหนดอัตตากำลังอาวุธยุทธโทปกรณ์ในแต่ละชาติ ก็ถือว่ารัฐนั้นได้อนุมัติให้เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ
สมาชิกทั้ง 63 รัฐได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา จีน คิวบา เชโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศส กรีซ อินเดีย ไซบีเรีย นิวซีแลนด์ ปานามา โปแลนด์ โปรตุเกส ไทย สหภาพแอฟริกาใต้ อังกฤษ อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย บราซิล ญี่ปุ่น กัวเตมาลา นิคารากัวฮอนดูรัส อิตาลี เปรู โรมาเนีย ไฮติ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เปอร์เซีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ปารากวัย เอลซัลวาดอร์ ชิลี เวเนซุเอลา สเปน บัลแกเรีย ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก คอสตาริกา ออสเตรีย แอลเบเนีย ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ไอร์แลนด์ เอธิโอเปีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เม็กซิโก ตรุกี อิรัก เอกวาดอร์ อัฟกานิสถาน อิยิปต์ ฮังการี เยอรมัน และรัสเซีย ส่วนสหรัฐอเมริกาและไฮจัสไม่ได้ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาสันติบาตชาติ และไม่ได้เป็นสมาชิก
ในเรื่องสิทธิและหน้าที่สมาชิกของสันนิบาตชาตินั้น รัฐสมาชิกมีอิสระในการตัดสินใจและดำเนินการภายใต้พันธกรณีที่มีอยู่ตามกติกาสัญญาสันนิบาตชาติ รัฐสมาชิกมีอิสระในการตัดสินใจและดำเนินการภายใต้พันธสัญญาสันนิบาตชาติ รัฐสมาชิกทั้งหมดมีความเสมอภาคกัน โดนรัฐสมาชิก 1 รัฐมีคะแนนเสียง 1 เสียง ทั้งในสมัชชาและในคณะมนตรี
สำหรับการพ้นสันนิบาตชาติมี 3 ลักษณะคือ
1.การลาออกโดยสมัครใจของสมาชิก ซึ่งรัฐต้องการลาออกจากสมาชิกภาพต้องแจ้งด้วยเจตจำนงขอลาออกล่วงหน้าเป็นเวลา 2 ปี และในระหว่าง 2 ปีนี้รัฐสมาชิกดังกล่าวจะต้องปฎิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ และพันธกรณีต่างๆ ตามกติกาสันนิบาติชาติทั้งหมดมี 17 รัฐ ได้แก่ ไฮติ โรมาเนีย สเปน เปรู ฮังการรี เวเนซุเอลา ชิลี เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส ยิคารากัว กัวเตมาลา ปารากวัย เยอรมัน ญี่ปุ่น บราซิล และคอสตาริกา
2.พ้นสภาพสมาชิกภาพเนื่องจากหมดสภาพการเป็นรัฐ กรณีดังกล่าว ได้แก่ ออสเตรียถูกเบอรมันผนวกเป็นอาณาจักรไรซ์ที่3 ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1938 และแอลบาเนียถูกผนวกเข้าไปดินแดนของอาณาจักรอิตาลีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938
3.ถูกขับออกจากสันบาติชาติเพราะฝ่าฝืนกติกาสัญญา รัสเซีย เพียงรัฐเดียวที่ถูกประกาศให้พ้นจากสมาชิกภาพของสันนิบาติชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1939 เนื่องจากรัสเซียทำการรุกรานโปแลนด์
องค์การสันนิบาติชาติ
1. สมัชชา( Assembly ) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมเสมือนรัฐสภา มีทั้งประเทศใหญ่และประเทศเล็กรวม 60 ประเทศ มีผู้แทนประเทศละ 3คน แต่ละประเทสมีสิทธิลงคะแนนเสียงละเสียงเดียว ทำหน้าที่เกี่ยวกับปัญหากฏหมายการเมือง การจัดงบประมาณ การลดอาวุธ การแก้ปัญหา และความเป็นอยู่ของมนุษย์ การประชุมจัดขั้นที่สำนักงานในกรุงเจนีวา ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาปัญหาต่างๆ อันนำความสงบสุขมาสู่โลก
2. สภาบริหาร ( Council ) มีประเทศสมาชิก 8 ประเทศ คือสมาชิกประจำ 4 ประเทศได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น แต่ละประเทศส่งผู้แทนมาร่วมประชุมประเทศละ 1 คน ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกประจำอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม สเปน บราซิล และกรีซ มีผู้แทนประจำประเทศละ 1 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เมื่อเยอรมันสมัครเข้าเป็นสมาชิกในปี ค.ศ.1926 นั้นประเทศสมาชิกจึงมี 9 ประเทศ การประชุมจะตัดสินเด็ดขาดต้องได้รับที่ประชุมสมัชชาก่อน นอกจากนี้ สภาบริหารยังต้องทำหน้าที่ให้ปรึกษาเกี่ยวกับการควบคุมการสร้างอาวุธ ดูแลการปกครองเมืองอาณัติ ระงับข้อพิพากษาระหว่างประเทศ และพิจารณาปัญหาชนกลุ่มน้อย
3. สำนักงานเลขาธิการ ( Secretariat ) ทำหน้าที่พิจารณาหน้าที่เป็นสำนักงานกลาง มีสมาชิก จากหลายประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รับแต่งตั้งจากสมัชชา ทำหน้าที่ช่วยแปลเอกสารต่างๆ ทำรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทะเบียน สนธิสัญญา การแก้ปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสุข พิจารณาปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การเลิกทาส การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย การลดอาวุธ เป็นต้น
4. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( Permanent Court of International Justice ) อยู่ที่กรุงเฮก เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ
5.คณะกรรมการเทคนิค เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค มีทั้งหมด 9 คณะคือ
5.1 องค์การกรรมกรระหว่างประเทศ
5.2คณะกรรมาธิการลดอาวุธ
5.3 คณะกรรมาธิการว่าด้วยอนามัย
5.4 คณะกรรมาธิการว่าด้วยเศรษฐกิจและการเงิน
5.5 องค์การจัดคมนาคมและขนส่ง
5.6คณะกรรมาธิการปรึกษาเรื่องฝิ่น
5.7คณะกรรมาธิการว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและสตรี
5.8คณะกรรมาธิการแสวงหาความร่วมมือทางการศึกษาหาความรู้
5.9คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างกฎหมายระหว่างประเทศ
ความอ่อนแอของสันนิบาติชาติ
นับตั้งแต่ปีค.ศ.1932เป็นต้นมา การดำเนินงานของสันนิบาตชาติได้ประสบความล้มเหลวตลอดมาทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
1.ความอ่อนแออันเนื่องมาจากกติกาสัญญา การที่กติกาสัญญาถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพทุกฉบับที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำกับรับผู้แพ้สงคราม
2.ความอ่อนแออันเนื่องมาจาก ประเทศสมาชิก สหรัฐอเมริกามิได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสันนิบาติชาติ สาเหตุเนื่องจากสภาสูงของสหรัฐไม่ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้มหาอำนาจสันนิบาติชาติเหลือเพียง 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อิตาลี
3.ความอ่อนแออันเนื่องมาจากโครงสร้าง เมื่อประเทศสมาชิกของสันนิบาติชาติได้เสนอให้สมัชชาสันนิบาติชาติได้เสนอปัญหาให้สมัชชาสันนิบาตพิจารณา และที่ประชุมสมัชชาได้พิจารณาปัญหาที่ประเทศสมาชิกได้นำเสนอเรียบร้อยแล้ว สันนิบาตชาติไม่มีอำนาจพอที่จะกำหนดมาตรการใดๆ เพราะสันนิบาติชาติไม่ได้มีฐานะเป็นรัฐบาลโลก
4.ความอ่อนแออันเนื่องมาจากระบบการปกครองแบบเผด็จการ สภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ระหว่างประเทศในระบบการปกครองที่มีอุดมการณ์เป็นเผด็จการของบางประเทศในระยะสงครามโลกครั้ง 1 เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี อาหรับ รัสเซีย ก็ปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ ก็คือเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จเหมือนกัน
สหประชาชาติ ( United Nations Organization ; UN)


ลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่การจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ
สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพที่จะธำรงรักษาสันติภาพ ดังที่เห็นได้จากความล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า "สหประชาชาติ" เป็นแนวคิดของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ถูกใช้ครั้งแรกในปฏิญญาสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกันภายใต้การลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกองค์การนี้ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1944 ตัวแทนจากประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาติที่ดัมบาตันโอกส์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.การประชุมครั้งนั้นและครั้งต่อ ๆ มา ทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนจากทั่วโลก
เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 ที่นครซานฟรานซิสโก ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ แม้สันนิบาตชาติจะถูกล้มเลิกไป แต่อุดมการณ์ส่วนใหญ่และโครงสร้างบางประการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฏบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น การประชุมสมัชชาครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1946


วัตถุประสงค์สำคัญของสหประชาชาติ
วัตถุประสงค์สำคัญของสหประชาชาติ มี 4 ประการ คือ
1. ดำรงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง
3. ร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ
4. เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินการของชาติทั้งปวง ที่จะให้บรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน
องค์กรในสหประชาชาติ (principal organs)
สหประชาชาติ ประกอบด้วยองค์กรหลัก 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (General Assembly) ประกอบด้วยสมาชิกทุกประเทศของสหประชาชาติ เป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์การ พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในขอบเขตของกฎบัตรสหประชาชาติ พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ พิจารณารายงานขององค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ มีหน้าที่เลือกสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรี ความมั่นคงจำนวน 10 ประเทศ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 54 ประเทศและคณะมนตรีอื่นๆ ตลอดจนการรับสมาชิกใหม่ แต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากคณะมนตรีความมั่นคง รวมทั้งพิจารณาและรับรองงบประมาณของสหประชาชาติ กำหนดส่วนเฉลี่ยค่าบำรุงของประเทศ
2. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Security Council) ประกอบด้วย สมาชิกถาวร (Permanent Members) จำนวน 5 ประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) และ สมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent Members) จำนวน 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี มีหน้าที่สอบสวนกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเสนอแนะวิธีดำเนินการหรือแผนปฏิบัติการที่จะจัดทำความตกลงสำหรับการยุติข้อพิพาทโดยสันติ เสนอแนะการรับสมาชิกใหม่ เสนอแนะสมัชชาฯ ในการแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ และทำหน้าที่ร่วมกับสมัชชาฯ ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council : ECOSOC) ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทุกปีจะมีการเลือกตั้งแทนประเทศที่พ้นตำแหน่งปีละ 18 ประเทศ สมาชิกที่ครบวาระแล้วมีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งซ้ำและสามารถรับเลือกตั้งซ้ำในวาระต่อเนื่องได้ แบ่งการดำเนินงานออกเป็นคณะกรรมาธิการประจำ คณะกรรมาธิการภูมิภาค และองค์กรผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ศึกษาและรายงานเรื่องระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่นๆ รวมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพขั้นมูลฐานของปวงชน
4.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินปัญหาของสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1945 จากผลของกฎบัตรสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มทำหน้าที่ในปี ค.ศ. 1946 แทนศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ อนุสาวรีย์ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งคล้ายกับศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศก่อนหน้า คือ ข้อความรัฐธรรมนูญที่วางระเบียบของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ในพระราชวังสันติภาพ ในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งของสถาบันกฎหมายนานาชาติเฮก ซึ่งเป็นสถานที่ของเอกชนในการศึกษากฎหมายนานาชาติ ผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหลายคนเป็นนิสิตเก่าหรือคณะครูในสถาบันแห่งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาความขัดแย้งระหว่างรัฐ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมสงคราม
5.เลขาธิการสหประชาชาติ(United Nations Secretary-General)
ตำแหน่งนี้ ซึ่ง
6.เลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations Secretary-General)
เป็นชื่อเรียกตำแหน่งหัวหน้าของสำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ โดยตามกฎบัตรสหประชาชาติ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ
เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด
ตำแหน่งนี้ ซึ่งแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์มองว่าเป็น "ผู้ดูแลโลก" ถูกนิยามไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติว่าเป็น "ผู้นำการบริหารขององค์การ" และกฎบัตรยังได้ระบุว่าเลขาธิการสหประชาชาติสามารถยก "ปัญหาใด ๆ ที่เขาเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ" ขึ้นเพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพิจารณาได้ ทำให้บทบาทของเลขาธิการสหประชาชาติมีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้นในเวทีโลก ตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติจึงมีสองบทบาท ทั้งผู้บริหารสหประชาชาติ และนักการทูตหรือผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก และหาข้อยุติให้กับประเด็นของโลก เลขาธิการสหประชาชาติมีหน้าที่ที่จะควบคุมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การควบคุมองค์กรสากล การรวบรวมข้อมูลจากข้อตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและพูดคุยกับผู้นำรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
เลขาธิการสหประชาชาติถูกแต่งตั้งจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หลังจากที่ได้รับมติมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การเลือกเลขาธิการสหประชาชาติมีสิทธิ์ถูกยับยั้งจากสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและตามทฤษฎีแล้ว สมัชชาใหญ่จะสามารถเปลี่ยนการสนับสนุนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ หากไม่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่เคยเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติไม่ได้ถูกกำหนดคุณสมบัติแน่ชัด แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าอยู่ในตำแหน่งวาระละห้าปีได้หนึ่งหรือสองวาระ ตำแหน่งควรจะเวียนไปตามภูมิภาคของโลก และต้องไม่ได้มาจากประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
องค์การระว่างประเทศในระดับภูมิภาค
1.องค์การระดับประเทศในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก
1.1องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization) หรือ นาโต้ (NATO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ
ประเทศสมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา. โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ต่อมา มีประเทศโครเอเชียและ แอลบาเนีย มาเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน 2008 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
1.2ประชาคมยุโรป
เมื่อประชาชนแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ลงประชามติเมื่อวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2545 ยอมรับสนธิสัญญาแห่งนครนีส (Treaty of Nice) สหภาพยุโรปสามารถขับเคลื่อนขยาย Super Bloc ต่อไปได้


สนธิสัญญาแห่งนครนีสปี 2543 กำหนดหลักการการปรับปรุงองค์กรและการปฏิรูปเชิงสถาบันภายในสหภาพยุโรป เพื่อรองรับการเติบใหญ่และรองรับภาคีสมาชิกใหม่ แต่ประชาชนชาวไอร์แลนด์ลงประชามติคว่ำสนธิสัญญาแห่งนครนีสในเดือนพฤษภาคม 2544 ประชามติดังกล่าวนี้ นอกจากจะทำให้นายเบอร์ตี อาเฮิร์น (Bertie Ahern) นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์เสียหน้าแล้ว ยังทำให้สหภาพยุโรปตกอยู่ในมุมอับ เพราะมิอาจขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้อีกด้วย


นายอาเฮิร์นจัดให้มีการลงประชามติใหม่หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งคราวนี้ นอกจากสมหวังที่ประชามติยอมรับสนธิสัญญาแห่งนีสแล้ว ยังสมหวังที่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐสภามีอำนาจในการให้สัตยาบันการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันภายในสหภาพยุโรป โดยมิต้องขอประชามติ เพราะสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นภาคีสหภาพยุโรปเพียงประเทศเดียวที่ยังต้องขอประชามติ ในขณะที่ภาคีอื่นๆ อีก 14 ประเทศให้เป็นอำนาจของรัฐสภา


ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อันเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป มีมติให้รับสมาชิกระลอกใหญ่จำนวน 10 ประเทศในปี 2547 หากประชาชนชาวไอร์แลนด์ลงประชามติไม่ยอมรับสนธิสัญญาแห่งนครนีส ย่อมมีผลให้สหภาพยุโรปมิอาจรับภาคีใหม่ได้ ด้วยเหตุดังนี้ ประชาชนในยุโรปตะวันออกหลายต่อหลายประเทศ จึงพากันลุ้นให้ประชาชนชาวไอร์แลนด์ Say Yes ในการลงประชามติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวโปแลนด์


สหภาพยุโรปตกลงที่จะรับภาคีใหม่จำนวน 10 ประเทศ ในปี 2547 ประกอบด้วยไซปรัส มอลตา เอ็สโทเนีย แล็ตเวีย ลิธัวเนีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย สโลวีเนีย ฮังการีและโปแลนด์ นับเป็นการขยายพรมแดนครั้งที่สี่ แต่เป็นการขยายพรมแดนครั้งใหญ่ที่สุด การขยายพรมแดนครั้งแรก (First Enlargement) เกิดขึ้นในปี 2516 เมื่อประชาคมยุโรปรับสหราชอาณาจักรไอร์แลนด์ และเดนมาร์กเข้าเป็นสมาชิก ครั้งที่สองรับสเปนและปอร์ตุเกสเป็นสมาชิกในปี 2529 (ก่อนหน้านั้นในปี 2524 รับกรีซเป็นสมาชิก) ครั้งที่สามรับสวีเดน ฟินแลนด์และออสเตรียเป็นสมาชิกในปี 2537 (ดูภาคผนวก)


ประเทศที่ผิดหวังจากมติของสหภาพยุโรปครั้งนี้ คือตุรกี ตุรกีเพียรขอเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป (และต่อมาสหภาพยุโรป) มาเป็นเวลากว่าสามทศวรรษ แต่ไม่ประสบผล ได้แต่เฝ้าดูกรีซ (2524) สเปนและปอร์ตุเกส (2529) ตบเท้าเข้าสู่ประชาคมยุโรป เมื่อประเทศทั้งสามเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แม้ตุรกีจะพยายามปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปเศรษฐกิจ แต่การลิดรอนสิทธิมนุษยชนยังเป็นข้ออ้างหลักที่สหภาพยุโรปไม่รับตุรกีเป็นสมาชิก ยิ่งตุรกีใช้กำลังทหารยึดดินแดนบางส่วนของไซปรัส ตุรกียิ่งมีภาพลบในสายตาของผู้นำสหภาพยุโรป ตุรกีแปลกแยกจากยุโรปทั้งในด้านวัฒนธรรมและการเมือง ผู้นำตุรกีมีข้อสรุปว่า เหตุผลประการเดียวที่สหภาพยุโรปมิอาจรับตุรกีได้ เพราะตุรกีเป็นมุสลิม


แม้สหรัฐอเมริกาจะกดดันให้สหภาพยุโรปรับตุรกีเป็นสมาชิก โดยอ้างเหตุผลในด้านยุทธศาสตร์การเมืองโลก เพราะตุรกีตั้งอยู่ในจุดที่เชื่อมต่อกับรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และตะวันออกกลาง แต่ความหวังของตุรกีแลดูริบหรี่ เพราะสหภาพยุโรปมิได้มีมติใดๆ เกี่ยวกับตุรกีเลย โดยที่สหภาพยุโรปมีมติรับบุลกาเรียและรูมาเนียเป็นสมาชิกในปี 2550


การขยายพรมแดนของสหภาพยุโรปครั้งนี้ มีลักษณะเป็น Eastward Enlargement เพราะควบยุโรปตะวันออกหลายต่อหลายประเทศเข้าเป็นสมาชิก อันได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ซึ่งมีผลในการลบเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก สหภาพยุโรปมิได้เป็น ‘สหภาพ’ ของยุโรปตะวันตกเพียงโสดเดียวอีกต่อไป


การรับกลุ่มประเทศบอลติก (Baltic States) อันประกอบด้วยเอ็สโทเนีย แล็ตเวีย และลิธัวเนียเข้าเป็นสมาชิก มีผลในทางยุทธศาสตร์ เพราะประเทศทั้งสามมีลักษณะเป็นรัฐกันชนระหว่างยุโรปตะวันตกกับรัสเซีย มิหนำซ้ำยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ในการต่อต้านรัสเซียอีกด้วย ในปัจจุบัน ประเทศทั้งสามมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟินแลนด์


การรับไซปรัสและมอลตาเป็นสมาชิก นับเป็นการขยายพรมแดนสหภาพยุโรปลงทางใต้ หากจะมี Southward Enlargement ต่อไป ก็ต้องข้ามไปแอฟริกาเหนือ ในกรณีการรับไซปรัส มีปัญหาการเมืองภายในสหภาพยุโรปเอง เนื่องจากกรีซข่มขู่ว่าจะไม่ยอมให้สัตยาบันการรับสมาชิกใหม่ หากสหภาพยุโรปไม่รับไซปรัสเป็นสมาชิก กรีซเป็นไม้เบื่อไม้เมากับตุรกีในกรณีไซปรัส เพราะประชาชนชาวไซปรัสมีเชื้อสายกรีกและตุรกี และมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนต่างเชื้อชาติ


คำถามพื้นฐานมีอยู่ว่า เหตุใดประเทศต่างๆ ในยุโรปจึงต้องการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป?


การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอย่างปราศจากข้อกังขา เพราะสหภาพยุโรปเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีที่มีลักษณะเป็นตลาดเดียว (Single Market) ภาคีสมาชิกย่อมได้ประโยชน์จากขนาดตลาดอันมหึมาในด้านการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการ นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในสหภาพยุโรปอีกด้วย แรงงานจากประเทศที่ด้อยพัฒนามากกว่าสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในประเทศที่ร่ำรวยกว่า ในประการสำคัญ สหภาพยุโรปมีระบบการถ่ายโอนส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากภาคีสมาชิกที่มีฐานะดีไปสู่ภาคีสมาชิกที่มีฐานะยากจนกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผันทรัพยากรไปใช้ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และการอุดหนุนการผลิตด้านเกษตรกรรมตาม Common Agricultural Policy (CAP)


แต่การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมีต้นทุนที่ต้องเสียด้วยต้นทุนที่สำคัญได้แก่ ต้นทุนการปรับตัวเข้าสู่ระบบสหภาพยุโรป ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงการจัดองค์กร การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน การแก้ไขเพิ่มเติมและการตรากฎหมายให้สอดคล้องกับกฎกติกาของสหภาพยุโรป การสูญเสียอธิปไตยในการกำหนดนโยบายนับเป็นต้นทุนสำคัญอีกประเภทหนึ่ง นับวันอำนาจในการกำหนดนโยบายหลุดลอยจากรัฐบาลประชาชาติไปสู่สหภาพยุโรป ประชาชนในหลายประเทศให้ความสำคัญในประเด็นนี้ และอาจไม่ยอมให้ความเห็นชอบในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป


คำถามพื้นฐานยังมีอีกด้วยว่า เหตุใดสหภาพยุโรปจึงต้องการขยายพรมแดน?


ความฝันที่จะได้เห็นสหรัฐแห่งยุโรป (United States of Europe) หรือ United Europe (เทียบเคียงกับ United Kingdom) อาจเป็นปรัชญาพื้นฐานในการขยายพรมแดนของสหภาพยุโรป การดึงประเทศต่างๆ ที่มีระบอบการเมืองการปกครองระบบเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแตกต่างกันมาอยู่ร่วมชายคา ‘อาณาจักร’ เดียวกัน ย่อมมีประโยชน์ในการสร้างสมานฉันท์ในหมู่ประชาชาติยุโรป อันเป็นพื้นฐานในการสร้างศานติสุขในยุโรป หากมีความขัดแย้งและการกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ กลไกภายในสหภาพยุโรปจะช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเหล่านั้น การร่วมชายคาสหภาพยุโรปเดียวกัน ยังมีนัยว่าด้วยการเกลี่ยความสุขหรือการเกลี่ยความเจริญระหว่างประเทศ โดยที่ประเทศที่ร่ำรวยมีภาระต้องเกื้อหนุนประเทศที่ยากจนกว่าด้วย


การรับสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ ทำให้ประชากรในสหภาพยุโรปเพิ่มจาก 400 ล้านคนเป็น 475 ล้านคน แต่รายได้ประชาชาติของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเพียง 5% เพราะสมาชิกใหม่ล้วนแล้วแต่มีฐานะด้อยกว่าสมาชิกเดิม ภาระทางการคลังอันเกิดจากการรับสมาชิกใหม่ จึงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สมาชิกสหภาพยุโรปต้องถกอภิปราย ใครจะเป็นผู้รับภาระการคลังดังกล่าวนี้
ในปัจจุบัน สหภาพยุโรปใช้จ่ายงบประมาณมากกว่า 90,000 ล้านยูโร (หรือ 80,000 ล้านดอลลาร์อเมริกัน) ต่อปี ประมาณ 80% ใช้จ่ายในการอุดหนุนการเกษตรและการพัฒนาภูมิภาค ภาคีฝ่ายเหนืออันประกอบด้วยเยอรมนี สวีเดน ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรเป็นผู้รับภาระการคลังโดยสุทธิ ภาคีฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก อันประกอบด้วยสเปน ปอร์ตุเกส กรีซ อิตาลี และสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์สุทธิ
ภาคีฝ่ายเหนือไม่ต้องการรับภาระการคลังเพิ่มขึ้น หากแต่ต้องการให้เกลี่ยงบประมาณที่มีอยู่เดิมไปช่วยเหลือภาคีใหม่ ตามข้อเสนอนี้ ประเทศที่เสียประโยชน์ ก็คือ ภาคีฝ่ายใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปน ปอร์ตุเกส และกรีซ การรับภาคีใหม่อีก 10 ประเทศ ทำให้รายได้ประชาชาติต่อหัว (per capita GNP) ถัวเฉลี่ยของสหภาพยุโรปตกต่ำลง ประเทศที่จะได้ประโยชน์จากระบบการจัดสรรงบประมาณพอ สหภาพยุโรปต้องมีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าระดับถัวเฉลี่ยของสหภาพยุโรป
กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม บัดนี้ สหภาพยุโรปเติบใหญ่เป็น Super Bloc อย่างชัดเจนยิ่งแล้ว ในขณะที่เขตการค้าเสรีแห่งอเมริกา (Free Trade Area of the Americas = FTAA) และเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียแปซิฟิก (APEC) ยังไม่ปรากฏรูปร่างที่เป็นรูปธรรม


หมายเหตุ


1. ข้อมูลว่าด้วยภูมิหลังของสหภาพยุโรปปรากฏในหนังสือหลายต่อหลายเล่ม และ websites จำนวนมาก โปรดดูอาทิ Iaian McLean, Oxford Concise Dictionary of Politics (Oxford University Press, 1996)


2. รายงานข่าวประชาชนแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ลงประชามติรับ Treaty of Nice ดูรายงานข่าว “Ireland Backs EU Expansion” BBC News (October 20, 2002)


3. รายงานข่าวประชาชนชาวโปแลนด์เรียกร้องให้ชาวไอร์แลนด์ Say Yes ดู “Poles Plead for Irish a Yes”, BBC News (October 14, 2002)


4. รายงานข่าวสหภาพยุโรปรับภาคีใหม่ ดู “EU Reaches Landmark Expansion Deal”, BBC News (October 9, 2002)


5. บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับสหภาพยุโรป ดู David Bamford, “Turkey’s Membership Argument”, BBC News (October 9, 2002)


6. บทความเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจ ดู รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สังคมเศรษฐกิจโลก : โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง (บริษัทสื่อเสรี จำกัด 2540)






ภาคผนวก


เส้นทางการเติบโตของสหภาพยุโรป


2500 Treaty of Rome จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community = EEC) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2501 ประกอบด้วยภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมบูร์ก


2508 The Marger Treaty ผนึกประชาคมทั้งสามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประกอบด้วยประชาคมเหล็กกล้าและถ่านหิน (European Coal and Steel Community = ECSC) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (European Atomic Energy Community = Euratom) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปกลายเป็นประชาคมยุโรป (European Community = EC)


2516 สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และเดนมาร์กเข้าเป็นสมาชิก


2524 กรีซเข้าเป็นสมาชิก


2529 สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิก


2530 บังคับใช้ Single European Act of 1986 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม Treaty of Rome เพื่อผนึกยุโรปเป็น Single Market โดยยึดหลักการ Four Freedoms อันประกอบด้วยเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายสินค้า เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายบริการ เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานและเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายเงินทุน


2536 ประชาคมยุโรป (EC) เปลี่ยนเป็นสหภาพยุโรป (European Union = EU) เมื่อภาคีสมาชิกให้สัตยาบัน Treaty of Maastricht of 1992


2537 สวีเดน ฟินแลนด์ และออสเตรียเข้าเป็นสมาชิก


2547 กำหนดรับภาคีใหม่ 10 ประเทศ ประกอบด้วยไซปรัส มอลตา เอ็สโทเนีย แล็ตเวีย ลิธัวเนีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย สโลวีเนีย ฮังการี และโปแลนด์


2550 กำหนดรับภาคีใหม่ 2 ประเทศ ประกอบด้วย บุลกาเรีย และโรมาเนีย
1.3 ประเทศในเครือจักรภพ
ประเทศเครือจักรภพ-Commonwealth of Nations หรือยุคก่อนเรียก ประเทศเครือจักรภพอังกฤษ-The British Commonwealth of Nations คือกลุ่มประเทศอธิปไตยที่เป็นอาณานิคม หรือเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (ยกเว้นโมซัมบิกที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นมาก่อน) แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ทำให้ยังคงยอมรับพระประมุขแห่งอังกฤษ และทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมกันระหว่างประเทศสมาชิก 53 ประเทศ


โดยมีเป้าหมายด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมประชาธิปไตย และหลักสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศสมาชิก นอกจากนี้สมาชิกยังมีสิทธิพิเศษระหว่างกัน เช่น สิทธิพิเศษทางด้านการค้า ทุนการศึกษา การขอวีซ่า เป็นต้น ทั้งประเทศสมาชิกยังมีการแข่งขันกีฬา คอมมอนเวลธ์ เกมส์ ทุก 4 ปี


โดยที่เครือจักรภพก่อตั้งอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อ ค.ศ.1926 และนับจาก ค.ศ.1949 เป็นต้นมา ถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อรวมกันเข้ารัฐสมาชิกเครือจักรภพมีพื้นที่คิดเป็น 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ขณะที่พลเมืองคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของประชากรโลก


ย้อนไป ค.ศ.1838 เครือจักรภพก่อตัวขึ้นจากการที่อังกฤษให้สิทธิปกครองอาณานิคมของตนที่มีชนผิวขาวเข้าไปตั้งหลักแหล่งเป็นจำนวนมาก ตามที่ "เอิร์ลแห่งเดอรัม" ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำแคนาดาเสนอแนวทางไว้ และแคนาดาเป็นประเทศแรกที่เข้าเป็นเครือจักรภพเมื่อ ค.ศ.1867 ตามด้วยออสเตรเลีย ค.ศ.1901 นิวซีแลนด์ ค.ศ.1907 และสหภาพแอฟริกาใต้ ค.ศ.1910 ดินแดนทั้ง 4 แห่งมีสถานะเป็นอาณาจักร ในขณะที่ดินแดนอื่นในจักรวรรดิอังกฤษยังคงมีสถานะเป็นอาณานิคม ซึ่งต้องยินยอมให้อังกฤษกำกับ ค.ศ.1911 มีการประชุมประเทศในจักรวรรดิครั้งแรก และตั้งแต่นั้นมาการประชุมดังกล่าวก็จัดขึ้นแทนการประชุมอาณานิคมซึ่งมีมาตั้งแต่ ค.ศ.1887


ในจำนวน 53 ประเทศ ถ้าไม่นับอังกฤษ มี 15 ประเทศ ที่รับรองสมเด็จพระราชินีอังกฤษเป็นประมุข โดยใช้ชื่อกลุ่มย่อยนี้ว่า Commonwealth Realms ประเทศเหล่านี้ยังคงมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง ขณะที่ราชินีอังกฤษมีหน้าที่ทรงให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐบาลแต่ละประเทศเท่านั้น โดยทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ไปประจำ


ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส เบลีซ เกรเนดา จาเมกา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ หมู่เกาะโซโลมอน และตูวาลู และในจำนวนสมาชิกเครือจักรภพ 53 ประเทศ มี 5 ประเทศ ที่มีกษัตริย์ของตนเอง ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม เลโซโท มาเลเซีย สวาซิแลนด์ และตองกา


องค์กรระหว่างประเทศ เครือจักรภพ มีสำนักงานอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มี ดอน แม็กคินนอน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเลขาธิการคนปัจจุบัน


ส่วนผู้แทนทางการทูตของกลุ่มประเทศในเครือจักรภพเรียกว่า ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งเทียบเท่ากับตำแหน่งเอกอัครราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกเครือจักรภพ เช่น ผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำ ณ ออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า ข้าหลวงใหญ่ แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย เรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต
1.4 สหพันธ์รัฐอิสระ ( CIS : Commonwealth of Independent states ) อันประกอบด้วย 12 ประเทศเอกราช ซึ่งเป็นอดีตสาธารณรัฐในอดีตประเทศสหภาพโซเวียต ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1991
2.องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
2.1สนธิสัญญากรุงวอซอว์
สหภาพโซเวียต โจมตีว่า องค์การนาโต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรุกราน จึงได้ตั้ง องค์การ สนธิสัญญากรุงวอซอว์ หรือที่เรียกว่า Warsaw Pact ขึ้นในปี ค.ศ.1955 ชื่อเต็ม และ อย่างเป็น ทางการ เรียกว่า Warsaw Treaty on Friendship Cooperation and Mutual Aid or Warsaw Treaty Organization องค์การ สนธิสัญญา กรุงวอซอว์ มีบทบัญญัติ ทำนองเดียว กับข้อ 5 ของ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ที่ว่า การโจมตี สมาชิก รัฐใดรัฐหนึ่ง จะถือว่า เป็นการโจมตี รัฐสมาชิก ทั้งหมด และข้อ 5 ของ บทบัญญัติ ยังได้ระบุถึง การบัญชาการทหาร ร่วมกันด้วย สนธิสัญญาวอร์ซอได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการที่ กรุงปราก ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991)
3.องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
3.1อาเซียน
1. การก่อตั้ง
1.1 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญา
กรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ต่อมาประเทศบรูไน ดารุสซาลาม เข้าเป็น
สมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 เมื่อวันที่ 28
กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
1.2 อาเซียนปัจจุบันประกอบด้วยประชากรรวมกันประมาณ 500 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่
4.5 ล้านตารางกิโลเมตร


2. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมอาเซียน ตามปฏิญญากรุงเทพฯ คือ
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
- เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
- เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรม
ในภูมิภาค
- เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
- เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม
การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน
การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
- เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือ
แห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
3.2ตำรวจสากล คำนี้มีความหมายและที่มาอย่างไร มีบทบาทหน้าที่ต่างจากตำรวจทั่วไปอย่างไร ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักดีพอ ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอบันทึกนี้ ให้หลายๆคนได้รู้จักกับตำรวจสากลกันให้มากขึ้นค่ะ


ICPO (International Criminal Police Organization) หรือ Interpol (International Police)
มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า "องค์การตำรวจสากล" เป็นองค์การความร่วมมือของตำรวจระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกจากการรวมตัวของ 14 ประเทศในทวีปยุโรป ที่โมนาโค ในปี 1914 และปัจจุบันมีประเทศสมาชิกในองค์การทั้งหมด 187 ประเทศ


สำนักงานเลขาธิการกองบัญชาการกลางแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองLyon ประเทศฝรั่งเศส ( France) และมีสำนักงานกองบัญชาการอยู่ที่ นิวยอร์ก โดยประเทศสมาชิกทุกๆประเทศจะมีศูนย์กลางข้อมูลทุกอย่างซึ่งถูกรวบรวมไว้ที่สำนักงานกลางซึ่งเรียกว่า National Central Bureau (NCB) ซึ่งเป็นศูนย์กลางกลไกที่สำคัญ เป็นช่องทางในการดำเนินงานขององค์การตำรวจสากล
วัตถุประสงค์ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและติดต่อแลกเปลี่ยนข้อสนเทศหรือข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อองค์การตำรวจสากล หรือต่อกองบัญชาการกลางแห่งชาติของประเทศสมาชิกอื่น ทั้งนี้ ในกองบัญชาการกลางแห่งชาติของแต่ละประเทศสมาชิกก็จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานขององค์การตำรวจสากลหรือของประเทศสมาชิกอื่นประจำการอยู่ด้วย จึงทำให้การติดต่อประสานงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือข้อสนเทศเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว
กิจการและหน้าที่ขององค์การตำรวจสากล คือ
1. ทำการติดต่อกับประเทศสมาชิก เพื่อขอทราบรายงานและสถิติอาชญากรรมของประเทศเหล่านั้น โดยประเทศภาคีสมาชิกจะจัดส่งไปยังสำนักงานกลางทุกๆปี ทำรายงานส่งให้ประเทศภาคีฯ ทราบถึงความเคลื่อนไหว ของผู้ร้ายซึ่งประเทศภาคีฯต้องการทราบ จัดส่งใบแจ้งรูปพรรณของผู้ร้ายบางคนไปให้ประเทศภาคีฯ ทำการแจ้งข่าวคราวการเคลื่อนไหวของผู้ร้ายบางคนเพื่อเป็นการแลก เปลี่ยนข่าวสารและประสานงานในการที่จะจับกุมต่อไป ตลอดจนรวบรวมประวัติอาชญากรสำคัญๆ ของโลก เพื่อสะดวกในการสืบสวนและจับกุมของประเทศภาคีฯ
2. ร่วมมือกับสมาชิกตำรวจสากลประเทศอื่น ในการจับกุม ปราบปราม และดำเนินการสอบสวนคดีอาชญากรรมหรือความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันได้แก่
- การกระทำความผิดอาญาต่อบุคคล
- การค้าทาส การค้าหญิง
- การลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ สลัดอากาศ โจรสลัด
- การกระทำความผิดต่างๆ เกี่ยวกับยานพาหนะสัญจร
- การฉ้อโกงระหว่างประเทศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการปลอมเงินตรา
- ยาเสพติดให้โทษ
- การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
สำหรับประเทศไทยเอง ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกขององค์การตำรวจสากล เช่นกัน โดยได้ตั้งสำนักงานกลางแห่งชาติอยู่กองการต่างประเทศ กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร โดยชื่อชื่อสำนักงานตำรวจสากล THE INTERPOL Bangkok , Foreign Affairs Division, Royal Thai Police


ทั้งโดยการทำงานของตำรวจสากลในประเทศไทยเองก็มีออกมาอย่างไม่ขาดสาย ยกตัวอย่างเช่น การร่วมมือของตำรวจสากลและเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตเบลเยี่ยม ประจำประเทศไทย ในการติดตามตัวนายปาสคาล หรือ พาสคา ควิรีเน็น หรือคิริเนน (PASCAL QUIRYNEN) อายุ 35 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติเบลเยี่ยม ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 884/2551 ลงวันที่ 10 พ.ย.51 ผู้ร้ายข้ามแดนในคดีฆ่าผู้อื่นเสียชีวิตที่ประเทศเบลเยี่ยม โดยศาลเบลเยี่ยมมีคำพิพากษาให้จำคุก 25 ปี และได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งตำรวจสากลได้เข้าจับกุมและควบคุมตัวเพื่อส่งกลับไปดำเนินคดีที่ประเทศเบลเยี่ยมต่อไป
หรือในการดำเนินงานของตำรวจสากลในการนำหมายเอฟบีไอ จับกุม นายไบรอัน ผู้ต้องหาตามหมายจับของเอฟบีไอ ในข้อหาล่วง ละเมิดทางเพศเด็กและข่มขืนผู้หญิงในปี พ.ศ.2532 ในลาสเวกัส และได้หนีมากบดานในพื้นที่ จ.น่าน เป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาอังกฤษให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านปรางค์ ต.บ้านปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน โดยหลังจากแจ้งข้อหาตำรวจสากลได้ควบคุม ตัวไปดำเนินการเพื่อส่งไปดำเนินคดีที่ประเทศสหรัฐอมเริกาตามข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป เป็นต้น
3.3"โอเปก” หรือ “องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน” (OPEC-Organization of Petroleum Exporting Countries) โดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ อิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ซาอุดิอาระเบีย และ เวเนซูเอลา ต่อมาได้มีสมาชิกเข้ามาเพิ่มตามลำดับได้แก่ กาตาร์, อินโดนีเซีย, ลิเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, แอลจีเรีย, ไนจีเรีย, เอกวาดอ (ถอนตัวในปี 2535) และสมาชิกล่าสุดเมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมาคือ แองโกลา รวมเป็น 12 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จุดประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน รักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม การรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตนำมันรายใหญ่ ทำให้โอเปกสามารถกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันซึ่งจะมีผลต่อการขึ้นลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก โปเปกเป็นกลุ่มที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกคือ 41.7 % ของทั้งโลก (ปี 2548) รองลงมาคือกลุ่ม OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) ผลิตได้ประมาณ 14.8-23.8 % ของปริมาณน้ำมันดิบในโลก
3.4องค์การ นานารัฐ อเมริกา (The organization of American States) เป็นองค์การ ป้องกัน ภูมิภาค ที่เก่าแก่ที่สุด องค์การหนึ่ง ของซีกโลก ตะวันตก ซึ่งจัดตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1889 ในขั้นแรก เรียกว่า สหภาพ กลุ่มอเมริกัน (Pan American Union) ก่อนปี ค.ศ.1930 มีบทบาท เฉพาะการกำหนด นโยบาย ร่วมกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1942 เป็นต้นมา ได้ขยายขอบเขต ความรับผิดชอบ โดยการช่วยเหลือกัน ระหว่างรัฐ อเมริกัน องค์การนี้ ประกอบด้วย สมาชิก 22 ประเทศ คือ อาเยนตินา โบลิเวีย ชิลี คอสตาริกา อีคัวดอร์ ไฮติ เม็กซิโก ปานามา เปรู ตรินิแคต สหรัฐอเมริกา บานาโคส บราซิล โคลัมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว ปารากย ซด อ อุรุกวัยเวเนซูเอลา
3.5องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) คือ องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรี โออีซีดีก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ในฐานะที่เป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรป
3.6ประชาคมตลาดร่วมแคริบเบียน (CARICOM (Caribbean Community and Common Market)
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยประเทศที่อยู่ในแถบทะเลแคริบเบี้ยน แอนติกัวและบาบูดา บาฮามาส บาร์เบโดส เบลิซ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน โดมินิกา เกรนาดา กายอานา จาเมกา มองเซรัต เซนต์คริสโตเฟอร์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ซูรินาเม ตรินิแดดและโตเบโก และหมู่เกาะเตอร์กและไคโกส


4.องค์การทางการค้า
4.1 ข้อตกลงทั่วไปเกี่ยวกับภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade หรือ GATT)


แกตต์ เป็นองค์กรความร่วมมือทางการค้า เพื่อกำจัดระบบโควต้า และภาษีการค้าระหว่างประเทศสมาชิก


วัตถุประสงค์ ในการก่อตั้ง
1. เพื่อลดหย่อนการกีดกันทางการค้า และภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ
2. เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศสมาชิก
3. เพื่อพัฒนาทรัพยากรของโลก โดยให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและกระจายข่าว เกี่ยวกับสินค้าออก
4. เพื่อขยายการผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้า
4.2องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
เกิดขึ้นจากผู้แทนของประเทศสมาชิก แกตต์ หรือองค์การความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) 125 ประเทศ ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งองค์การค้าโลก ที่เมืองมาร์ราเกซ ประเทศโมร็อกโก เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2537 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเจรจารอบอุรุกวัยของแกตต์ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาถึง 7 ปี (พ.ศ.2529 - 2536)
องค์การค้าโลก (WTO) เกิดจากสำนึกของประเทศสมาชิก แกตต์ (GATT) ที่ตระหนักว่า โลกในปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศตะวันตกกับประเทศตะวันออก และระหว่างกลุ่มประเทศเหนือ (ประเทศร่ำรวย) กับกลุ่มประเทศใต้ (ประเทศยากจน) ดังนั้น การจัดตั้งองค์การค้าโลก (WTO) จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน ให้มีการค้าระหว่างกันมากขึ้น มุ่งส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกค้าขายกันอย่างเสรี มุ่งจำกัดอุปสรรค เงื่อนไขข้อกีดกันทางการค้าใดๆ ให้หมดสิ้นไป เช่น กำหนดให้เก็บอัตราภาษีศุลกากรในอัตราต่ำ มีอำนาจแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางการค้าระหว่าประเทศสมาชิก ตลอดจนให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสมาชิก เป็นต้น
องค์การค้าโลก (WTO) จึงเป็นองค์การที่จัดตั้งใหม่ เพื่อทำหน้าที่แทน GATT (ซึ่งดำเนินงานมาถึง 47 ปี) เป็นองค์การในสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UNO) และนับเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจที่ 3 ของโลกควบคู่กันไปกับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Internation Monetary Fund : IMF) และธนาคารโลก (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
ในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) มี 135 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4.3เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area : NAFTA) ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1992 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มีฐานะเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนประชากรและมูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้มากกว่ากลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ
วัตถุประสงค์ของนาฟตา มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศสมาชิกให้เป็นเขตการค้าเสรีซึ่งกันและกัน ลดอัตราภาษีศุลกากร ลดขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าผ่านแดน ขจัดอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าใดๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
ข้อได้เปรียบของนาฟตา คือ มีแรงงานค้าจ้างต่ำและวัตถุดิบราคาถูกจากเม็กซิโก และมีเงินทุนและเทคโนโลยีระดับสูงจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในปัจจุบันมีนักลงทุนชาวอเมริกันและแคนาดาเข้าไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเม็กซิโกจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตของนาฟตาแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มโลกที่สาม
กลุ่มประเทศโลกที่สาม (Third World Countries) หมายถึง กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Countries) ทั้งหลาย ประกอบด้วยประเทศสมาชิกประมาณ 130 ประเทศ ซึ่งนับเป็นกลุ่มที่มีเสียงข้างมากในองค์การสหประชาชาติ จึงมีพลังในทางการเมืองระหว่างประเทศในการลงมติของสมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ สมาชิกของกลุ่มประเทศโลกที่สามกระจายอยู่ในทุกทวีป ประกอบด้วยประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ยกเว้นสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และประเทศยุโรป 2 ประเทศ คือ ตุรกีและยูโกสลาเวีย ประเทศไทยก็นับเป็นประเทศโลกที่สามด้วย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศโลกที่สามที่รวมตัวกันเป็น "กลุ่ม 77" กลุ่มนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในทางการเมืองและสังคมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนั้นกลุ่มประเทศโลกที่สามยังรวมกลุ่มการเมืองในระดับต่างๆ อีกหลายกลุ่มทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาค เช่น กลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่มประเทศแอฟริกา กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา เป็นต้น
กลุ่มประเทศโลกที่สามมีนโยบายในทางการเมืองระหว่างประเทศยึดถือ "ความเป็นกลางแบบสร้างสรรค์" โดยมุ่งหมายส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลก เช่น งดเว้นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น พยายามระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ส่งเสริมผลประโยชน์และความร่วมมือซึ่งกันและกัน เป็นต้น



กลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement : NAM)
มีแนวความคิดแรกเริ่มของกลุ่มประเทศที่ "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" เกิดขึ้น เมื่อผู้แทนประเทศต่างๆ รวม 25 ประเทศ ร่วมประชุมกันที่ประเทศอินเดีย ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2490 แต่การเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของอุดมการณ์แห่งขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เริ่มขึ้นในการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่กรุงเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย ระหว่างประธานาธิบดีตีโต้แห่งยูโกสลาเวีย ประธานาธิบดีนัสเซอร์แห่งสหสาธารณรัฐอาหรับ (อียิปต์) และนายกรัฐมนตรีเนรูห์แห่งอินเดีย นอกจากนั้นมีผู้แทนประเทศอื่นๆ เข้าร่วมประชุมด้วย รวมเป็น 25 ประเทศ